ประวัติกษัตริย์ 7 พระองค์ ณ อุทยานราชภักดิ์ จ.ประจวบคีรีขันธ์
เสร็จสิ้นสมบูรณ์และยิ่งใหญ่สมเกียรติคุณของพระมหาษัตริย์ไทยทั้ง
7
พระองค์
สำหรับการติดตั้งพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์แห่งสยาม ภายใน "อุทยานราชภักดิ์"ที่ตั้งอยู่ภายในเขตกองทัพบก
อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีพื้นที่ทั้งหมดมากถึง 222 ไร่ กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของอำเภอหัวหินไปเป็นที่เรียบร้อย
อุทยานราชภักดิ์คืออะไร
หลายคนสงสัยว่า "อุทยานราชภักดิ์" คืออะไร หมายถึงอะไร อุทยานราชภักดิ์เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความหมายว่า อุทยานที่สร้างขึ้นด้วยความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ โดยจัดสร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนและประกาศเกียรติคุณสมเด็จพระมหากษัตริย์แห่งสยาม
หลายคนสงสัยว่า "อุทยานราชภักดิ์" คืออะไร หมายถึงอะไร อุทยานราชภักดิ์เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความหมายว่า อุทยานที่สร้างขึ้นด้วยความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ โดยจัดสร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนและประกาศเกียรติคุณสมเด็จพระมหากษัตริย์แห่งสยาม
ที่มาของอุทยานราชภักดิ์
1. เพื่อเป็นการเทิดทูนและประกาศเกียรติคุณ สมเด็จพระมหากษัตริย์แห่งสยาม
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่ทรงสร้างคุณูปการที่ยิ่งใหญ่ต่อประเทศชาติ
อันนำมาสู่ความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นปึกแผ่นของชาติไทยตราบจนทุกวันนี้
2. เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับกระทำพิธีที่สำคัญของกองทัพบก
และรับรองบุคคลสำคัญจากต่างประเทศในโอกาสที่มาเยือนกองทัพบกอย่างเป็นทางการ
3. เพื่อใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ สำหรับให้กำลังพลและครอบครัวของกองทัพบก รวมถึงนักเรียนทหาร
ตลอดจนประชาชนทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
ได้เข้ามาทัศนศึกษาและเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย
ภายในอุทยานราชภักดิ์มีอะไรบ้าง
ภายในอุทยานราชภักดิ์
ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่
1. พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์แห่งสยาม 7 พระองค์ ใช้พื้นที่ในการจัดแสดง 5 ไร่ แต่ละพระองค์อยู่ในพระอิริยาบถทรงยืน หล่อด้วยโลหะสำริดนอก
มีความสูงเฉลี่ยไม่เกิน 13.9 เมตร
2. ลานอเนกประสงค์ บนพื้นที่ประมาณ 91 ไร่ ใช้สำหรับกระทำพิธีที่สำคัญของกองทัพและรับรองบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ
3. อาคารพิพิธภัณฑ์ที่จะจัดทำอยู่ใต้ฐานของพระบรมราชานุสาวรีย์ เพื่อจัดแสดงพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจที่สำคัญของบูรพกษัตริย์ไทย
นอกจากนี้พื้นที่ส่วนที่เหลือจำนวน
126 ไร่ จะเป็นสภาพภูมิทัศน์โดยรอบ
และการจัดสร้างระบบสาธารณูปโภคเพื่ออำนวยความสะดวก
ประกอบด้วย 7
พระองค์ ดังนี้
1. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช (สมัยกรุงสุโขทัย) ทรงถือพระแสงของ้าวในอิริยาบถโน้มลงแผ่นดิน
มีความหมายว่าพระองค์ได้ผ่านการรบมาโชกโชน
แต่ตอนนี้อยากจะปกครองแผ่นดินให้สงบสุขอุดมสมบูรณ์
2. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (สมัยกรุงศรีอยุธยา) ทรงถือทวนและสะพายพระแสงดาบในชุดนักรบ
แสดงถึงความพร้อมออกรบตลอดเวลา
3. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (สมัยกรุงศรีอยุธยา) อยู่ในฉลองพระองค์เต็มยศและสวมมงกุฎ
เนื่องจากช่วงนั้นอยุธยามีการติดต่อกับชาติตะวันตก
จึงต้องแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของกษัตริย์โบราณ
4. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (สมัยกรุงธนบุรี) ทรงถือพระแสงดาบด้วยสีหน้าแววตาอันดุดันจากการกรำศึกหนัก
5. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) อยู่ในอิริยาบถถือพระแสงดาบในฝัก
หมายถึงการเป็นเสาหลักแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
6. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย พระองค์เดียวที่ไม่ได้เป็น "มหาราช" แต่ก็ได้รับการยกย่องในอุทยานราชภักดิ์
ด้วยเหตุผลที่เป็นผู้วางรากฐานและเปิดโลกทัศน์ให้กับรัชกาลที่ 5
7. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)ฉลองพระองค์เต็มยศแบบฝรั่งและพระหัตถ์ถือกระบี่
แสดงถึงความมั่นคงของประเทศ
เวลาเปิด-ปิด อุทยานราชภักดิ์
นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเที่ยวชมยังพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์ได้แล้ว
โดยจะเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. เข้าชมฟรี ! แต่ในส่วนของลานอเนกประสงค์และอาคารพิพิธภัณฑ์ยังอยู่ในระหว่างการจัดสร้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น