วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประเด็นข้าวไทย

ประเด็นข้าวไทยกับการเป็นผู้ประกอบการและไอที

ข่าวการชุมนุมของชาวนาในหลายจังหวัดเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาราคาข้าวตกต่ำ นับว่าเป็นปัญหาที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้ ปัญหาราคาข้าวตกต่ำในปัจจุบันได้รับแรงกดดันทั้งจากปัญหาในประเทศมาจากปัญหาภายในประเทศ และปัญหาการส่งออก กล่าวคือ ปริมาณสต็อกที่อยู่ในเกณฑ์สูงเป็นประวัติการณ์ ปริมาณการผลิตที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูง แม้ว่าการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และภาวะแห้งแล้งจะสร้างความเสียหายให้กับผลผลิตข้าวบางส่วน ซึ่งน่าจะส่งผลกระตุ้นให้ราคาข้าวในประเทศเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ราคาข้าวในประเทศยังดิ่งลงอย่างต่อเนื่อง โดยนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2552 ถึงเดือนเมษายน 2553 นี้ ราคาข้าวเปลือกในประเทศลดลงไปแล้วประมาณ 2,000-3,000 บาท/ตัน ในขณะที่การส่งออกต้องเผชิญการแข่งขันอย่างรุนแรงในด้านราคากับเวียดนาม แม้ว่าความต้องการข้าวในตลาดโลกในปี 2553 ยังมากกว่าปริมาณข้าวที่ค้าขายในตลาดโลก ทำให้ราคาข้าวทั้งภายในประเทศและราคาส่งออกดิ่งลงอย่างมาก โดยเฉพาะข้าวขาว
ปัจจัยในประเทศ
-สต็อกของรัฐบาลและสต็อกของเอกชน
ผลของมาตรการรับจำนำข้าวในช่วงที่ผ่านมา ทำให้คาดการณ์ว่ารัฐบาลมีสต็อกข้าวประมาณเกือบ 5 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 5.0 ของปริมาณการค้าข้าวทั่วโลก ดังนั้น ข่าวที่รัฐบาลจะดำเนินการระบายสต็อก จึงส่งผลทางจิตวิทยาต่อราคาข้าวในตลาดโลก และส่งผลต่อเนื่องถึงราคาข้าวในประเทศ ทำให้รัฐบาลยังต้องแบกภาระสต็อกข้าวไว้ต่อไป ซึ่งสต็อกข้าวของรัฐบาลนี้อยู่ในรูปของข้าวเปลือกที่ฝากเก็บไว้ที่โกดังกลางของรัฐบาล และบางส่วนเก็บไว้กับโรงสีที่เข้าร่วมโครงการกับรัฐบาล
ในส่วนของสต็อกข้าวของภาคเอกชนคงค้างมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2552 เนื่องจากทั้งผู้ส่งออกและโรงสีบางรายคาดการณ์ว่าราคาข้าวมีแนวโน้มจะสูงขึ้น ทำให้รับซื้อข้าวมาเก็บไว้ในสต็อก รวมกับการเก็บข้าวบางส่วนเพื่อขายเป็นข้าวเก่าในปีต่อไป (ราคาข้าวเก่าสูงกว่าข้าวใหม่ร้อยละ 20-30) ดังนั้น ปริมาณข้าวที่เก็บสต็อกไว้นั้นมีปริมาณมาก และไม่สามารถระบายออกได้ ทำให้โรงสีรับซื้อข้าวได้ในปริมาณจำกัด และบางส่วนก็รับซื้อในราคาต่ำเพื่อที่จะนำมาเฉลี่ยราคากับข้าวที่รับซื้อเก็บสต็อกไว้ที่ราคาสูง ซึ่งเป็นการลดภาระความเสี่ยงที่แบกรับไว้ ปริมาณสต็อกที่ล้นนับเป็นปัจจัยกดดันให้ราคาข้าวในประเทศดิ่งลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อผนวกกับเป็นช่วงที่ข้าวนาปรังออกสู่ตลาดในปริมาณที่มากกว่าการคาดการณ์ เนื่องจากราคายังจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง กล่าวคือ เดิมรัฐบาลคาดการณ์ว่าเกษตรกรลงทะเบียนปลูกข้าวนาปรัง 4.5 แสนครัวเรือน พื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง 10 ล้านไร่ แต่ขณะนี้มีผู้ปลูกข้าวนาปรังเพิ่มเป็น 7.8 แสนครัวเรือน พื้นที่ปลูกเพิ่มเป็น 15 ล้านไร่


ประเด็นข้าวไทยที่มีราคาตกต่ำจึงเกิดเป็นประเด็นให้อาจารย์ผู้สอนจึงได้ลองให้นักศึกษาในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจได้ลองวิเคราะห์ถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขที่จะช่วยแก้ไขปัญหาให้กับชาวนาว่าควรจะเป็นไปให้ทางไหนในรายวิชา  การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสร้างธุรกิจใหม่



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น